จากงานผู้ว่าการ ธปท. พบสื่อ Meet the Press ของ “ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้พูดถึงเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยที่ได้สะสมปัญหามานาน และอาจฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้ในอนาคต
ที่ผ่านมา ธปท. ร่วมกับธนาคารออกมาตรการต่างๆ มาดูแลลูกหนี้ เพื่อไม่ให้หนี้มีปัญหาจนกลายเป็นหนี้เสีย หนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ ช่วงก่อนโควิดจะอยู่ที่ 3% และมาในช่วงโควิดหนี้เสียอยู่ที่ 3.1% จนมาถึงปัจจุบัน หนี้เสียได้ลดลงเหลือ 2.8% โดย ผู้ว่าการ ธปท. ยอมรับว่า หนี้เสียมีแน้วโน้มเพิ่มขึ้น แต่ไม่ถึงกับเกิด NPL Cliff หรือการที่หนี้เสียพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากเรื่องหนี้เสีย สิ่งที่แบงก์ชาติกังวลมากกว่าคือ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นมาตั้งแต่ในอดีต แต่ที่น่ากังวลเกิดขึ้นหลังจากวิกฤติโควิดที่ทำให้คนไม่มีรายได้ ไม่มีความสามารถชำระหนี้ ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ที่ 86.9% แม้จะลดจากช่วงโควิดที่สูง 90.8% แต่ก็ยังสูงอยู่ดี ถือเป็นเรื่องที่แบงก์ชาติกังวลที่สุดคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
เป็นเพราะถ้า หนี้ครัวเรือนลดลงช้า ทำให้เศรษฐกิจและครัวเรือนฟื้นตัวได้ลำบาก แต่ที่อยากเห็นกันส่วนใหญ่หนี้ครัวเรือนไม่เกิน 80% ต่อจีดีพี และมีแนวโน้มที่ลดลงช้า ถ้าปล่อยไว้ไม่ทำอะไรเลย หนี้ครัวเรือนสูงกว่าที่ควรจะเป็น
หนี้ครัวเรือนไทยที่มีอยู่ไม่ได้น่ากลัวทั้งหมด แต่ผู้ว่าการ ธปทคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น. บอกว่า ที่น่ากังวล คือ หนี้โตเร็ว หนี้เรื้อรัง ทำงานจนเกษียณ จนตายก็ยังเป็นหนี้อยู่ ต้องหามาตรการมารองรับในแต่ละกลุ่ม
“การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนนั้น ต้องใช้เวลา เพราะเป็นเรื่องที่อยู่กับไทยมานาน ไม่ได้มีอะไรที่เสกให้หายไปได้ในเร็ววัน การแก้ไขปัญหาต้องใช้เวลาและต้องถูกหลักการ และต้องแก้ครบวงจร ตั้งแต่ก่อนก่อหนี้ ตอนเป็นหนี้ ชำระหนี้ เพื่อไม่ให้คนกลับมาเป็นหนี้อีก รวมทั้งต้องแก้ให้ถูกหลักการ คือ ไม่ควรไปสร้างภาระให้ลูกหนี้ ไม่ควรผลักภาระ เช่น มาตรการพักหนี้ เพราะดอกเบี้ยยังวิ่งอยู่ แต่ในช่วงโควิดเห็นว่ามีความจำเป็น ออกมาใช้ในวงกว้าง และพอโควิดคลี่คลายบางกลุ่มไปได้อยู่ ทำแบบทอดแห่ไม่ดี จึงต้องทำแบบเฉพาะเจาะจง และมาถึงปรับโครงสร้างหนี้”
ที่สำคัญไม่อยากทำลายวินัย อย่างมอรัลฮัดซาร์ด อย่าสร้างแรงจูงใจให้คนทำแบบไม่ควรจะเป็น เป็นสิ่งอันตรายจะกระทบเสถียรภาพได้ และต้องไม่ทำอะไรให้คนไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในอนาคต
ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ตอนนี้การแก้หนี้ครัวเรือน เน้นมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว และยังทำอยู่ แต่ถามว่าพอหรือไม่ ตอบว่า ยัง และกำลังจะดู เรื่องที่ทำไปแล้วและออกมาตรการเพิ่มเติม เช่น ดูเรื่องความรับผิดชอบ ความสามารถชำระหนี้สอดคล้องรายได้ ความเสี่ยง ดูดอกเบี้ยสะท้อนความเสี่ยงลูกหนี้ และมาตรการแม็คโครพรูเด็นเชียล และคนกู้ก็ต้องรับผิดชอบด้วย เช่น ความรู้ทางการเงิน ในเดือน มิ.ย. จะเปิดเผยรายละเอียดมาตรการออกมาชัดเจนมากขึ้น.