นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า กทพ. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน N1 ศรีรัช-ประเสริฐมนูกิจ ระยะทาง 11 กม. มูลค่าลงทุนประมาณ 31,747 ล้านบาท เมื่อวานนี้ (5 เม.ย.) ที่กรมยุทธโยธาทหารบก หลังจากนี้ กทพ. จะรับฟังความคิดเห็นประชาชนอีก 2 ครั้ง ก่อนสรุปแนวสายทางที่เหมาะสมที่สุด คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 66 จากนั้นจะเสนอผลศึกษาต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกลางปี 67 คาดว่าเปิดประมูลได้ปี 67 เริ่มก่อสร้างปี 68 ใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปี เปิดบริการปี 73 เพื่อให้ต่อเชื่อมกับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ถ.ประเสริฐมนูกิจ-ถ.แหวนรอบนอกฯ ด้านตะวันออก ระยะทาง 11.5 กม. (มูลค่าโครงการ 1.6 หมื่นล้านบาท) มีแผนก่อสร้างปลายปีนี้ เปิดบริการปี 70
นายกันต์ณธีร์ เนติโรจนชัยชาญ ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า เบื้องต้นมี 3 เส้นทางเลือก 5 รูปแบบ ประกอบด้วย ทางเลือกที่ 1 ทางพิเศษประจิมรัถยา (ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ)-ถ.พหลโยธิน-แนวคลองบางบัว เชื่อมต่อโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ถ.ประเสริฐมนูกิจ-ถ.แหวนรอบนอกฯ ด้านตะวันออก ทางเลือกที่ 2 ทางพิเศษศรีรัช-ถ.งามวงศ์วาน-แนวคลองบางบัว เชื่อมต่อ N2 มีทางเลือกย่อย 2 แนวทาง 2.1 เป็นเส้นทางยกระดับถึงคลองลาดยาว แล้วลดระดับลงใต้ดินเป็นอุโมงค์หน้าเรือนจำกลางคลองเปรม ลอดใต้คลองเปรมประชากร ถ.วิภาวดีรังสิต แยกเกษตร และเชื่อมต่อกับ N2 2.2 เป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมดจนถึงจุดเชื่อมต่อ N2 คำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
ทางเลือกที่ 3 ทางพิเศษประจิมรัถยา-ต่างระดับรัชวิภาฯ-แนวคลองบางบัว เชื่อมต่อ N2 มีทางเลือกย่อย 2 แนวทาง 3.1 ทางยกระดับจากจุดเริ่มต้นโครงการถึงทางต่างระดับรัชวิภา และซอยพหลโยธิน 35 แยก 13 จึงลดระดับลงใต้ดินตรงไปตามแนวซอยด้านหลังตลาดอมรพันธ์ ลอดใต้ ถ.พหลโยธิน ต่อเนื่องไปตามแนว ถ.ประเสริฐมนูกิจ เพื่อเชื่อมต่อ N2 และ 3.2 จุดเริ่มต้นเหมือนทางเลือกย่อยที่ 3.1 เป็นทางยกระดับถึงซอยวิภาวดีรังสิต 40/1 แล้วเปลี่ยนเป็นเส้นทางใต้ดิน บริเวณซอยวิภาวดีรังสิต 17 แยก 8 แล้วลอดใต้ ถ.วิภาวดีรังสิต บริเวณซอยพฤกษ์วิชิต เลี้ยวซ้ายอ้อมไปทาง ถ.รัชดาภิเษก บริเวณซอยรัชดาภิเษก 48 ถึงซอยวิภาวดีรังสิต 38 เลี้ยวขวาไปตามแนวทางเลือกที่ 3.1
นายกันต์ณธีร์ กล่าวต่อว่า โครงสร้างทางยกระดับมี 4 ช่องจราจร เพื่อเชื่อมต่อกับทางด่วน N2 ที่ออกแบบไว้เป็น 4 ช่องจราจรได้เลย โดยทั้งทางด่วน N1 และ N2 จะให้บริการเฉพาะรถยนต์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้รถบรรทุกใช้เด็ดขาด ในส่วนของโครงสร้างอุโมงค์ มี 4 ช่องจราจรเช่นกัน แต่เพื่อให้การใช้พื้นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เบื้องต้นจะสร้างเป็นอุโมงค์ 2 ชั้น ชั้นละ 2 ช่องจราจร แบ่งวิ่งขาเข้าและขาออกแทน 4 ช่องจราจรแบบกว้างๆ ทำให้อุโมงค์มีขนาดเล็กไม่ใหญ่มาก อุโมงค์กว้างประมาณ 16-17 เมตร ลึก 30-40 เมตร บริเวณแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุโมงค์จะสร้างอยู่ใต้ทางลอดแยก ม.เกษตรศาสตร์
นายกันต์ธีร์ กล่าวอีกว่า อยู่ระหว่างศึกษาวิเคราะห์ และออกแบบรายละเอียดเกี่ยวกับการติดตั้งตัวระบายอากาศภายในอุโมงค์ด้วยว่าควรจะติดตั้งในระยะห่างเท่าใด นอกจากนี้ จะจัดทำแผนการดูแลความปลอดภัย ตลอดจนการอพยพออกจากอุโมงค์หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และติดตั้งอุปกรณ์ฉุกเฉินภายในอุโมงค์ด้วย กทพ. ยึดความปลอดภัยเป็นหลัก และกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด สำหรับทางด่วนสายนี้ หากก่อสร้างแล้วเสร็จ ประชาชนจะเดินทางเชื่อมต่อจาก N2 ไป N1 ผ่านทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษประจิมรัถยา และทางพิเศษฉลองรัช ได้อย่างสะดวกสบาย เพื่อเป็นวงแหวนทางด่วนด้านในที่ช่วยแก้ไขปัญหาจราจร และช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น รวมทั้งลดระยะเวลาการเดินทางเชื่อมจากฝั่งตะวันออก และตะวันตกได้ประมาณ 30 นาที
ด้าน ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ขอย้ำว่า ม.เกษตรฯ ไม่ได้ต่อต้าน แต่ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีกับสังคม ต้องขอบคุณ กทพคำพูดจาก เว็บสล็อตทดลองเล่น. ที่รับข้อเสนอ และปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้าง ช่วงผ่านหน้า ม.เกษตรฯ จากทางยกระดับเป็นอุโมงค์ พร้อมรับปากว่าจะทำทางด่วนสายนี้เป็น 4 ช่องจราจร และห้ามรถบรรทุกขึ้นใช้ทางด่วนสายนี้ มิฉะนั้นจะเป็นการสร้างทางเพื่อให้รถบรรทุกมาปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในเมือง ทางด่วนสายนี้ต้องมีเจตนารมณ์เพื่อบรรเทาการจราจรของคนในพื้นที่ฝั่งตะวันออก และตะวันตกเท่านั้น รวมทั้งระหว่างการก่อสร้าง ต้องทำให้ชีวิตประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ควรแย่ลง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ส่วนทดแทนตอน N1 ศรีรัช-ถนนประเสิรฐมนูกิจ มีมูลค่าลงทุนโครงการ 31,747 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ 1,000 ล้านบาท และค่าก่อสร้าง 30,747 ล้านบาท เบื้องต้นแนวเส้นทางที่เหมาะสมสุดคือ 2.1 ใช้แนวถนนงามวงศ์วานเชื่อมต่อกับทางด่วนศรีรัชจะช่วยระบายการจราจรได้ดีที่สุด หากสามารถก่อสร้างอุโมงค์ทางด่วนสายนี้ได้ จะถือเป็นอุโมงค์ทางด่วนสายแรกของประเทศไทย และบริเวณแยกเกษตรจะมีถึง 3 อุโมงค์ซ้อนกัน